นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บริษัท ทูเจ โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด

เพื่อเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกฎหมายฉบับแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ ในอนาคต (“กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล”) บริษัท ทูเจ โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด(“บริษัท”) จึงจัดทำนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ (“นโยบาย”) ขึ้นเพื่ออธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคลากรและพนักงานของบริษัท ในการดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

  • นิยามสำคัญ

ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ หรือข้อมูลอื่นใดซึ่งอาจก่อให้เกิดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนด

“เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลนั้นบ่งชี้ไปถึง ได้แก่ บุคลากรของบริษัท ลูกค้า คู่ค้า ผู้มาติดต่อ และบุคคลธรรมดาอื่นใดที่บริษัทมีการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลธรรมดานั้น

ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล

ประมวลผล” หมายถึง การดำเนินการหรือชุดการดำเนินการใดๆ ซึ่งกระทำต่อข้อมูลส่วนบุคคลหรือชุดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะโดยวิธีการอัตโนมัติหรือไม่ เช่น การเก็บ บันทึก จัดระบบ จัดโครงสร้าง เก็บรักษา เปลี่ยนแปลงหรือปรับเปลี่ยน การรับ พิจารณา ใช้ เปิดเผยด้วยการส่งต่อ เผยแพร่ หรือการกระทำอื่นใดซึ่งทำให้เกิดความพร้อมใช้งาน การจัดวางหรือผสมเข้าด้วยกัน การจำกัด การลบ หรือการทำลาย

ฐานทางกฎหมาย” หมายถึง เหตุโดยชอบด้วยกฎหมายในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ ภายใต้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

  • การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย

ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะต้องกระทำภายใต้ฐานทางกฎหมายที่กำหนดไว้ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งได้ถูกกำหนดเป็นแนวทางไว้ในนโยบายฉบับนี้ด้วย ดังนี้

  • ข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ฐานทางกฎหมายประการใดประการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  1. การป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล (Vital Interest)
  2. การปฏิบัติตามสัญญาหรือการดำเนินการตามคำร้องขอก่อนเข้าทำสัญญา (Contract)
  3. การดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Interest)
  4. ประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย (Legitimate Interest)
  5. การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย (Legal Obligation)
  6. ความยินยอมโดยชัดแจ้ง (Explicit Consent)
  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว

บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวก็ต่อเมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (โปรดดูหลักเกณฑ์และวิธีการขอความยินยอมในข้อ 2.1(6) เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ดังนี้

  • เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคลซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดก็ตาม ซึ่งกรณีดังกล่าวมักจะเป็นการใช้สำหรับกรณีฉุกเฉิน
  • เป็นข้อมูลที่เปิดเผยต่อสาธารณะด้วยความยินยอมโดยชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับ:
  • เวชศาสตร์ป้องกันหรืออาชีวเวชศาสตร์ การประเมินความสามารถในการทำงานของลูกจ้าง
  • ประโยชน์ด้านสาธารณสุข
  • การคุ้มครองแรงงาน การประกันสังคม หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามสิทธิของผู้มีสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งการเก็บรวบรวมมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติตามสิทธิหรือหน้าที่ของบริษัทหรือของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือสถิติ หรือประโยชน์สาธารณะอื่น
  • ประโยชน์สาธารณะอื่นที่สำคัญ เช่น การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันโรคติดต่อหรือโรคระบาด การเก็บรวบรวมและเปิดเผยต่อหน่วยงานรัฐซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

หมายเหตุ แนวทางการพิจารณาและการตีความคำว่า “ประโยชน์สาธารณะ” อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการพิจารณาและการให้ความหมายของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือตามที่ระบุในกฎหมายลำดับรองซึ่งอาจมีการประกาศใช้บังคับเป็นการเพิ่มเติมในอนาคต

ทั้งนี้ รายละเอียดในเรื่องของ ประเภท วัตถุประสงค์ และฐานทางกฎหมายของการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทนั้นจะปรากฏอยู่ในประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแต่ประเภท

 

  • แนวปฏิบัติในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะต้องพิจารณาและเลือกเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็นเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่บริษัทกำหนดไว้เท่านั้น และเลือกลบหรือทำลายข้อมูลที่อาจได้มาโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่บริษัทประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลจากสำเนาบัตรประชาชนเพื่อระบุตัวตนของบุคคล โดยปกติบริษัทจำเป็นต้องใช้เพียงข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป (เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบั ตรประชาชน รูปภาพ เป็นต้น) ดังนั้น กรณีที่อาจมีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวปรากฏบนสำเนาบัตรประชาชนอยู่ด้วย (เช่น ศาสนา หมู่โลหิต) บริษัทจะหาวิธีการทำให้ข้อมูลดังกล่าวไม่ปรากฏบนสำเนาบัตรประชาชนเมื่ออยู่ในการครอบครองของบริษัท ซึ่งอาจเป็นการขีดฆ่าข้อมูลที่ไม่จำเป็น เหลือเพียงข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการระบุตัวตนเท่านั้น เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมถึงความเสี่ยงในการเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล

  • ประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)

เมื่อใดก็ตามที่บริษัทจะดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะต้องแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลประเภทต่าง ๆ เช่น ผู้สมัครงาน บุคลากรและผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า หรือบุคคลอื่นใดที่บริษัทจะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท โดยประกาศความเป็นส่วนตัว อย่างน้อยต้องประกอบด้วยรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  1. วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
  2. ฐานทางกฎหมายในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
  3. แจ้งให้ทราบถึงกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายหรือสัญญา หรือเพื่อเข้าทำสัญญา รวมทั้งแจ้งถึงผลกระทบกรณีเจ้าของข้อมูลไม่ให้ข้อมูลส่วนบุคคล
  4. ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทจะเก็บรวบรวม
  5. ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (ในกรณีที่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ ให้ระบุระยะเวลาที่อาจคาดหมายได้)
  6. ประเภทของบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งบริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไปให้
  7. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  8. ข้อมูลและรายละเอียดการติดต่อบริษัท เช่น สถานที่ติดต่อ วิธีการติดต่อ (ในกรณีที่บริษัทมีตัวแทนหรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ต้องแจ้งรายละเอียดการติดต่อของบุคคลดังกล่าวด้วย)
  9. รายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ เข้าใจ และประกอบการพิจารณาให้ความยินยอมแก่บริษัท ในกรณีที่บริษัทไม่สามารถเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้

ทั้งนี้ บริษัทจะต้องแจ้งหรือส่งมอบประกาศความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือขณะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เว้นแต่เป็นกรณีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทได้เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยก่อนมีนโยบายนี้และบริษัทยังมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวอยู่ต่อไป บริษัทจะต้องดำเนินการแจ้งหรือส่งมอบประกาศความเป็นส่วนตัวให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยเร็วที่สุด

การแจ้งหรือการส่งมอบประกาศความเป็นส่วนตัวอาจไม่จำเป็นต้องกระทำซ้ำในกรณีที่บริษัทได้เคยแจ้งหรือส่งมอบประกาศความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวแล้ว แต่ในกรณีที่บริษัทมีการแก้ไขประกาศความเป็นส่วนตัวในภายหลัง บริษัทจะต้องแจ้งหรือส่งมอบประกาศความเป็นส่วนตัวที่แก้ไขให้กับเจ้าของข้อมูลใหม่อีกครั้ง

  • แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล

โดยทั่วไปบริษัทจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากตัวเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเองโดยตรง เช่น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลแก่บริษัทผ่านทางวาจา หรือส่งเอกสารที่ระบุข้อมูลส่วนบุคคลของตนให้แก่บริษัท เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากบริษัทมีความจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นหรือบุคคลที่สามที่ไม่ใช่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง บริษัทจะต้อง (ก) แจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากแหล่งอื่นและแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบโดยไม่ชักช้าแต่ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่บริษัทได้เก็บรวบรวม และ (ข) ขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยอาศัยฐานความยินยอม ทั้งนี้ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทจะต้องนำข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไปใช้ในการติดต่อกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะแจ้งเจ้าของข้อมูลให้ทราบเมื่อทำการติดต่อครั้งแรก และในกรณีที่บริษัทนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเปิดเผย บริษัทจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบก่อนการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปเปิดเผยเป็นครั้งแรก

อย่างไรก็ดี ในบางกรณีบริษัทอาจไม่ต้องดำเนินการตาม (ก) หากบริษัทสามารถพิสูจน์ได้ว่าการแจ้งข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถทำได้หรือจะเป็นอุปสรรคต่อการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท หรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงรายละเอียดต่าง ๆ นั้นอยู่แล้ว เช่น เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเคยได้รับประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับการทำธุรกรรมบางประการกับบริษัทแล้ว และประสงค์จะทำธุรกรรมเช่นเดิมกับบริษัทอีกคราว

นอกจากนี้หากในการดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทได้ทำการว่าจ้างผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในการกระทำการแทนตามคำสั่งหรือในนามของบริษัท บริษัทอาจให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้ดำเนินการแจ้งประกาศความเป็นส่วนตัวแทนบริษัทได้ ซึ่งบริษัทจะต้องดำเนินการให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลปฏิบัติตามให้สอดคล้องและเป็นไปตามนโยบายนี้เฉกเช่นเดียวกัน และถือเสมือนว่าบริษัทได้ดำเนินการแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามหน้าที่ที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดแล้ว

  • สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทพึงตระหนักว่าเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะดำเนินการใด ๆ กับข้อมูลส่วนบุคคลของตนซึ่งอยู่ในความครอบครองของบริษัท ตามที่กำหนดในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจึงต้องจัดให้มีแบบคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในการแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิต่าง ๆ กับบริษัท อย่างไรก็ดี ในกรณีที่บริษัทมีเหตุจำเป็นต้องปฏิเสธการใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะต้องแจ้งเหตุแห่งการปฏิเสธดังกล่าวให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบเป็นลายลักษณ์อักษร และบันทึกเหตุแห่งการปฏิเสธนั้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

  1. สิทธิเพิกถอนความยินยอม
  2. สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  3. สิทธิร้องขอรับและขอให้โอนหรือส่งข้อมูลส่วนบุคคล
  4. สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
  5. สิทธิร้องขอให้ลบข้อมูลส่วนบุคคล
  6. สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
  7. สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
  8. สิทธิการร้องเรียน

 

  • หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากร

พนักงานและบุคลากรทุกคนของบริษัท มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ และจะต้องรักษาความลับในข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด และไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่การงานไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสม ใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว หรือใช้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย โดยอาจแบ่งหน้าที่ได้ตามลำดับขั้น ดังนี้

  • ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและบุคลากรระดับบริหาร

มีหน้าที่กำกับดูแลกระบวนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดของบริษัท ดังนี้

  • กำหนดบุคคลหรือหน่วยงานซึ่งทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) และ/หรือบุคคลหรือหน่วยงานอื่น เพื่อเป็นศูนย์กลางของบริษัทในการดูแลและรับเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในบริษัท
  • มอบหมายงานให้แก่พนักงานในการกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงวิธีปฏิบัติในการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท พร้อมทั้งแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมเมื่อเกิดเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นภายในบริษัท
  • จัดให้มีการควบคุมและตรวจสอบการปฏิบัติตามนโยบายหรือความเหมาะสมของนโยบายนี้อย่างสม่ำเสมอ
  • เป็นผู้อนุมัติในการดำเนินงานเชิงนโยบายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น จัดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของนโยบายนี้หรือการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในบริษัทหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้
  • พิจารณาและอนุมัติในการตอบสนองต่อคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหากการตอบสนองต่อการร้องขอดังกล่าวอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อบริษัท เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือบุคคลอื่นใด

 

  • ตำแหน่งเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer: DPO) หรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท

มีหน้าที่ให้คำแนะนำและตรวจสอบกระบวนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดของบริษัท ดังนี้

  • วิเคราะห์ ประเมิน ตรวจสอบ และควบคุมกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และให้คำแนะนำแก่บุคลากรหรือหน่วยงานอื่นภายในบริษัท เพื่อให้กิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทเป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
  • ตรวจสอบ และอนุมัติแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของแต่ละหน่วยงานภายในบริษัท รวมถึงวิธีปฏิบัติในการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยบริษัท และแนวทางในการแก้ปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นภายในบริษัท
  • วิเคราะห์ ประเมิน และให้คำแนะนำแก่บุคลากรและหน่วยงานภายในบริษัทเกี่ยวกับการตอบสนองต่อคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหากการตอบสนองต่อการร้องขอดังกล่าวอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อบริษัท เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือบุคคลอื่นใด
  • รายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลภายในบริษัทไปยังกรรมการผู้จัดการและบุคลากรระดับบริหาร
  • ติดต่อประสานงานและให้ความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการแจ้งเหตุละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นภายในบริษัทต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
  • ศึกษารายละเอียดของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กฎ ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ หรือกฎหมายอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว และแจ้งให้บุคลากรของบริษัททราบ
  • อธิบาย สร้างความเข้าใจ และความตระหนักรู้แก่บุคลากรของบริษัทเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง

 

  • ตำแหน่งระดับผู้จัดการแผนก

มีหน้าที่กำกับดูแลการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลภายในแผนกของตนซึ่งอาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามแต่ละแผนก โดยอาจแบ่งหน้าที่ได้ดังนี้

  • อนุญาตให้บุคคลใดเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือมอบหมายหน้าที่ให้แก่พนักงานในการเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนต่าง ๆ ของแผนก
  • จัดให้มีแนวปฏิบัติและการอบรมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในแผนก และสร้างความเข้าใจร่วมกันว่าข้อมูลส่วนบุคคลใดที่จำเป็นต้องเก็บและข้อมูลส่วนบุคคลใดที่ไม่จำเป็นต้องเก็บเพื่อการใช้ปฏิบัติงานภายในแผนก
  • จัดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลในแผนกให้มีมาตรฐานตามกฎหมายและนโยบายนี้
  • อนุมัติในการตอบสนองคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและปรึกษาหารือกับแผนกที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว รวมถึงหารือกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และรายงานต่อฝ่ายบริหารเพื่อขออนุมัติหากการตอบสนองต่อการร้องขอดังกล่าวอาจมีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อบริษัท เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และ/หรือบุคคลอื่นใด
  • ปรึกษาหารือกับฝ่ายบริหารและเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อกำหนดวิธีปฏิบัติที่เหมาะสม
  • จัดให้มีการบันทึกการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลของแผนกตามรายการที่กำหนดในนโยบายนี้
  • รับรายงานจากผู้ใต้บังคับบัญชากรณีได้รับแจ้งถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล และพิจารณาว่าการละเมิดนั้นอาจมีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ รวมถึงการปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท และผู้บริหารเพื่อพิจารณาให้มีคำสั่งให้ดำเนินการใดๆ ที่เหมาะสมตามนโยบายนี้ต่อไป

 

  • ตำแหน่งระดับพนักงาน

มีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นขั้นตอนในระดับการปฏิบัติการ ดังนี้

  • เก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายและนโยบายนี้ รวมถึงเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท
  • ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในการดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ความปลอดภัย การส่ง โอนเปิดเผย หรือ การบันทึกข้อมูล ต่าง ๆ เป็นต้น
  • แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบในกรณีที่เห็นว่าการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ในบริษัท หรือคำสั่งให้กระทำการใด ๆ ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเมื่อเห็นว่าการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่ออนุมัติในกรณีได้รับคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยทันทีในกรณีทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าการละเมิดนั้นจะเกิดจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบุคคลใดก็ตาม และไม่ว่าการละเมิดนั้นอาจจะมีหรือไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ทั้งนี้ บริษัทอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ธุรการ (Admin) ในแต่ละแผนก เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่บุคลากรเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารและการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล อย่างไรก็ดี บุคลากรทุกคนพึงตระหนักว่าหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล

หมายเหตุ

การฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและ/หรือนโยบายนี้ของบุคลากร อาจถือเป็นเหตุลงโทษทางวินัยได้ และหากการกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บริษัทอาจถือให้เป็นเหตุเลิกจ้างหรือเลิกสัญญาได้ นอกจากนี้ กรณีบุคลากรซึ่งกระทำการฝ่าฝืนดังกล่าวเป็นผู้กระทำการแทนบริษัท อาจต้องรับโทษทางอาญา ได้แก่ โทษปรับและ/หรือจำคุกเป็นการส่วนตัวด้วย ดังนั้น บุคลากรผู้ที่เกี่ยวข้องจึงต้องศึกษากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและนโยบายนี้ และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

 

  • หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

ในกรณีที่บริษัทว่าจ้างหรือมอบหมายให้คู่ค้าของบริษัทดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดกับข้อมูลส่วนบุคคล และคู่ค้าดังกล่าวมีฐานะเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทโดยดำเนินการตามคำสั่งหรือในนามของบริษัท บริษัทต้องจัดให้มีข้อตกลงกับผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processing Agreement) โดยกำหนดหน้าที่ให้ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและนโบบายนี้อย่างเคร่งครัด โดยมีหน้าที่ดังนี้

  • เก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายและนโยบายนี้ และภายใต้กรอบวัตถุประสงค์หรือคำสั่งของบริษัทตามที่กำหนดในข้อตกลงการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งจะได้จัดให้มีขึ้น รวมถึงเข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทเมื่อมีการร้องขอ
  • จัดให้มีมาตรการในการรักษาความมั่งคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ
  • แจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้าหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่ที่ทราบถึงการละเมิดนั้น
  • สนับสนุนและช่วยเหลือบริษัทในการตอบสนองคำร้องขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

หมายเหตุ

กรณีคู่ค้าซึ่งเป็นผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลหรือนโยบายนี้ของบริษัท อาจถือว่าเป็นการผิดสัญญาที่มีกับบริษัทด้วย และหากการฝ่าฝืนดังกล่าวส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท บริษัทอาจถือให้เป็นเหตุเลิกสัญญาได้

  • มาตรการการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะต้องจัดให้มีมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมถึงมาตรการป้องกันด้านการบริหารจัดการ (administrative safeguard) มาตรการป้องกันด้านเทคนิค (technical safeguard) และมาตราการป้องกันทางกายภาพ (physical safeguard) ในเรื่องการเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนบุคคล (access control) โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วยการดำเนินการ ดังต่อไปนี้

  • การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและอุปกรณ์ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยคำนึงถึงการใช้งานและความมั่นคงปลอดภัย
  • การกำหนดเกี่ยวกับการอนุญาตหรือการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
  • การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน (user access management) เพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเฉพาะผู้ที่ได้รับอนุญาตแล้ว
  • การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน (user responsibilities) เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การล่วงรู้ หรือการลักลอบทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล การลักขโมยอุปกรณ์จัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
  • การจัดให้มีวิธีการเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนหลังเกี่ยวกับการเข้าถึง เปลี่ยนแปลง ลบหรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคล ให้สอดคล้องเหมาะสมกับวิธีการและสื่อที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

 

ทั้งนี้ บริษัทจะต้องทบทวนมาตรการดังกล่าวเมื่อมีความจำเป็นหรือเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่เหมาะสม ตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

 

  • การบันทึกรายการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทจะต้องจัดให้มีการบันทึกรายการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งบริษัทเก็บรวบรวมและประมวลผล โดยมีรายการอย่างน้อย ได้แก่

  • ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีการเก็บรวบรวม รวมถึงวัตถุประสงค์และระยะเวลาการจัดเก็บข้อมูล
  • การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีการเก็บข้อมูลโดยอาศัยฐานทางกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่การขอความยินยอม
  • สิทธิและวิธีการและเงื่อนไขในการใช้สิทธิเข้าถึงข้อมูลของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • การปฏิเสธหรือคัดค้านคำขอใช้สิทธิประเภทต่างๆ พร้อมเหตุผลตามที่ระบุในนโยบายนี้ และ
  • คำอธิบายมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่บริษัทจัดให้มีขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตรวจสอบได้ และสามารถบังคับตามสิทธิที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแจ้งหรือร้องขอแก่บริษัท

  • การส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ

บริษัทสามารถส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ประเทศปลายทางได้ถูกรับรองว่ามีมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ
  • กรณีประเทศปลายทางมีมาตรฐานไม่เพียงพอ การโอนข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องเข้าข้อยกเว้นตามกฎหมาย ดังนี้
  • เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
  • ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลโดยแจ้งให้รู้ถึงมาตรฐานที่ไม่เพียงพอของประเทศหรือองค์กรปลายทางแล้ว
  • เป็นการจำเป็นเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อดำเนินการตามคำร้องขอก่อนเข้าทำสัญญา
  • เป็นการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างบริษัทกับบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
  • เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือบุคคลอื่น เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมในขณะนั้นได้
  • เป็นการจำเป็นเพื่อการดำเนินภารกิจเพื่อประโยชน์สาธารณะที่สำคัญ
  • กรณีที่เป็นการส่งหรือโอนข้อมูลระหว่างบุคคลหรือนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งอยู่ในเครือกิจการเดียวกัน บริษัทอาจส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกัน โดยไม่ต้องดำเนินการตามที่กำหนดไว้ข้างต้น โดยบริษัทจะต้องจัดให้มีนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการส่งหรือโอนข้อมูลระหว่างกันในเครือธุรกิจเดียวกันที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ในปัจจุบันบริษัทยังไม่มีนโยบายการส่งข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกันสำหรับบริษัทในเครือ)

 

ในปัจจุบัน คณะกรรมการยังมิได้มีการกำหนดประเทศที่มีมาตรฐานเพียงพอและยังไม่มีการรับรองนโยบายการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกันสำหรับบริษัทในเครือ อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังสามารถส่งข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศได้หากบริษัทได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เหมาะสมสามารถบังคับตามสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ รวมทั้งมีมาตรการเยียวยาทางกฎหมายที่มีประสิทธิภาพตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ปัจจุบันกฎหมายยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าวไว้แต่อย่างใด บริษัทจึงสามารถดำเนินการส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในข้อ 11.2 จนกว่าจะมีการประกาศใช้กฎหมายเพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าว

 

  • การดำเนินการเมื่อมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

เมื่อมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้นภายในบริษัท พนักงานและบุคลากรทุกคนจะต้องประสานงานกันเพื่อตรวจสอบสาเหตุและหาแนวทางแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดเหตุละเมิดซ้ำ โดยบริษัทจะต้องแจ้งเหตุละเมิดดังกล่าวแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ที่ได้ทราบเหตุเท่าที่สามารถจะกระทำได้ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่การละเมิดนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทจะต้องแจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมแนวทางเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย

 

  • การแก้ไขเปลี่ยนแปลงนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

 

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้อาจมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามสมควร ทั้งนี้ตามการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย และความเหมาะสมทางธุรกิจ

หมายเหตุ: นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนี้ได้รับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565

 

  • การสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

กรณีมีข้อสงสัยหรือคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถดาวน์โหลดเอกสารเพิ่มเติมตามลิ้งก์ที่อยู่ด้านล่าง

A1 – (EN) Data Protection Policy_v.1.0

A1 – (TH) Data Protection Policy_v.1.0

 

หรือกรณีมีความประสงค์จะแจ้งเหตุแห่งการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โปรดติดต่อ:

บริษัท ทูเจ โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส จำกัด

390 อาคาร ABC World ซ.รามคำแหง 30 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

โทรศัพท์ 02-078-5599

Email: dpo@2j.co.th